วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2561

ผู้จัดทำ



ผู้จัดทำ

ในภาพอาจจะมี Ponrawat Boss, กำลังยืน

นายพลวัต ภารบุญ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนท่าลี่วิทยา 
เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ศาสนาพุทธ เกิดวันที่ 3 เมษายน  2543 อายุ 18  ปี
อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย


นายนพชัย สุขฤกษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนท่าลี่วิทยา 
เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ศาสนาพุทธ เกิดวันที่ 12 กันยายน 2543 อายุ 18 ปี
อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย


นางสาวณิต้า แก้วพิลา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนท่าลี่วิทยา 
เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ศาสนาพุทธ เกิดวันที่ 3 ตุลาคม 2543 อายุ 17 ปี
อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย

นางสาวดวงฤดี เหล่าทองสิงห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนท่าลี่วิทยา เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ศาสนาพุทธ เกิดวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2543 อายุ 18 ปี
อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย


ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป, ภาพเซลฟี่ และภาพระยะใกล้

นางสาวนิสารัตน์ สุระธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนท่าลี่วิทยา เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย
ศาสนาพุทธ เกิดวันที่ 26 ธันวาคม 2543 อายุ 17 ปี
อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยืน, สถานที่กลางแจ้ง และธรรมชาติ

นางสาวเสาวลักษณ์ วะวิทักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนท่าลี่วิทยา 
เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ศาสนาพุทธ เกิดวันที่ 14 ธันวาคม 2543 อายุ 17 ปี
อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย

ครูที่ปรึกษาโครงงาน



นายสุรศักดิ์ กาษี
ครู ชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนท่าลี่วิทยา อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย



นายวราวุธ พลธิรักษา
โรงเรียนท่าลี่วิทยา อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย 

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2561

ดวงดาวในระบบสุริยะ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดาวพุธดาวพุธ (Mercury)

          ดาวพุธ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ไม่มีดาวบริวาร และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ และด้วยความที่มันเป็นดาวที่มีขนาดเล็ก (เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4,878 กิโลเมตร) จึงทำให้มันไม่สามารถสร้างสนามโน้มถ่วงที่มีพลังมากพอที่จะดึงดูดและกักเก็บ บรรยากาศได้ ดาวพุธจึงมีแรงโน้มถ่วงน้อยมาก และไม่มีบรรยากาศ ทำให้วัตถุอวกาศพุ่งชนได้ง่าย พื้นผิวดาวจึงขรุขระจากการพุ่งชนเหล่านั้น

          ดาวพุธใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์รอบละ 88 วัน แต่กลับหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลาถึง 180 วันเลยทีเดียว นั่นหมายความว่า ดาวพุธจะมีด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ยาวนานมาก เช่นเดียวกับด้านที่หันออกไปในทิศทางตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์  ดังนั้น เมื่อมีด้านที่ดาวพุธหันเข้าหาดวงอาทิตย์ยาวนาน ประกอบกับไม่มีชั้นบรรยากาศ จึงทำให้พื้นผิวดาวร้อนมาก ส่วนด้านที่หันทิศตรงข้ามดวงอาทิตย์ ก็เย็นมากเช่นกัน ดาวพุธจึงได้รับฉายาว่า เตาไฟแช่แข็ง




ดาวศุกร์ (Venus)


ดาวศุกร์ (Venus)

          ดาวศุกร์ เป็นดาวเคราะห์เพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด ไม่มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร มีขนาดเล็กกว่าแต่ก็ใกล้เคียงกับโลกมาก จนได้ชื่อว่าเป็นฝาแฝดกับโลก เราสามารถสังเกตเห็นดาวศุกร์ได้ด้วยตาเปล่า โดยสามารถมองเห็นได้ทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันตกในเวลาใกล้ค่ำ เราเรียกว่า ดาวประจำเมือง (Evening Star) ส่วนช่วงเช้ามืดปรากฏให้เห็นทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกเรียกว่า ดาวรุ่ง (Morning Star) เรามักสังเกตเห็นดาวศุกร์มีแสงส่องสว่างมากเนื่องจาก ดาวศุกร์มีชั้นบรรยากาศที่ประกอบไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีผลทำให้อุณหภูมิพื้นผิวสูงขึ้น 



          ดาวศุกร์มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12,104 กิโลเมตร หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 224 วัน และมีทิศทางการหมุนที่ไม่เหมือนดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะ คือในขณะที่ดาวเคราะห์ดวงอื่นหมุน ทวนเข็มนาฬิกา ดาวศุกร์กลับหมุนตามเข็มนาฬิกา ส่วนชั้นบรรยากาศบนดาวนั้น ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซต์ถึง 97% ทำให้ดาวศุกร์ร้อนมาก อุณหภูมิสูงเฉียด 500 องศาเซลเซียส และสะท้อนแสงอาทิตย์ได้ดี จึงสุกสว่างเมื่อมองเห็น




โลก (Earth)
โลก (Earth)


          โลก เป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ เนื่องจากมีชั้นบรรยากาศและมีระยะห่าง จากดวงอาทิตย์ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต นักดาราศาสตร์อธิบายเกี่ยวกับการเกิดโลกว่า โลกเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มก๊าซ และมีการเคลื่อนที่สลับซับซ้อนมาก แต่มีพื้นผิวเป็นหินเช่นเดียวกับ ดาวเคราะห์ชั้นในดวงอื่น ๆ ทั้งนี้ โลกมีดวงจันทร์เป็นบริวาร โคจรอยู่รอบโลกเพียงดวงเดียว มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3,476 กิโลเมตร หรือประมาณ 1 ใน 4 ของเส้นผ่าศูนย์กลางโลก และโคจรอยู่ห่างจากโลกโดยเฉลี่ยประมาณ 384,400 กิโลเมตร และโคจรรอบโลกในระยะเวลาประมาณ 29.5 วัน เป็นดวงจันทร์เป็นดาวดวงเดียวที่มนุษย์เดินทางไปสำรวจ โดยการนำตัวอย่างดินและหินจากดวงจันทร์กลับมาตรวจวิเคราะห์บนโลก




ดาวอังคาร (Mars)




ดาวอังคาร (Mars)
          ดาวอังคาร มีขนาดเล็กกว่าโลก เส้นผ่านศูนย์กลางราว 6,794  กิโลเมตร พื้นผิวดาวอังคารมีปรากฏการณ์เมฆและพายุฝุ่นเสมอ เป็นที่น่าสนใจในการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีลักษณะและองค์ประกอบ ที่ใกล้เคียงกับโลก เช่น มีระยะเวลาในการหมุนรอบตัวเอง 1 วัน เท่ากับ 24.6 ชั่วโมง และระยะเวลาใน 1 ปี เมื่อเทียบกับโลกเท่ากับ 1.9 มีการเอียงของแกน 25 องศา ดาวอังคารมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 2 ดวง และมีอุณหภูมิพื้นผิวค่อนข้างเย็น อยู่ที่ประมาณ -65 องศาเซลเซียส

          ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์อยู่ระหว่างการศึกษาดาวอังคารอย่างละเอียด โดยการส่งยานคิวริออสซิตี้ขึ้นไปศึกษาสภาพบนดาว เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการเป็นโลกใบที่สอง และนั่นอาจเป็นข่าวดีสำหรับมวลมนุษยชาติ






ดาวพฤหัสบดี (Jupiter)

ดาวพฤหัสบดี (Jupiter)
         

 ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11 เท่า หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 9.8 ชั่วโมง ซึ่งเร็วที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหลาย และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 12 ปี นักดาราศาสตร์อธิบายว่า ดาวพฤหัสเป็นกลุ่มก้อนก๊าซหรือของเหลวขนาดใหญ่ ที่ไม่มีส่วนที่เป็นของแข็งเหมือนโลก และเป็นดาวเคราะห์ที่มีดาวบริวารมากถึง 67 ดวง





ดาวเสาร์ (Saturn)


ดาวเสาร์ (Saturn)
         

ดาวเสาร์ เป็นดาวเคราะห์ที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เป็นดาวที่ประกอบไปด้วยก๊าซและ ของเหลวสีค่อนข้างเหลือง หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 10.2 ชั่วโมง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบใช้เวลา 29 ปี ลักษณะเด่นของดาวเสาร์ คือ มีวงแหวนล้อมรอบ ซึ่งวงแหวนดังกล่าวเป็นอนุภาคเล็ก ๆ หลายชนิดรวมกัน และดาวเสาร์มีวงแหวนถึง 3 ชั้น นอกจากนี้ ดาวเสาร์ยังมีดาวบริวาร 62 ดวง หนึ่งในนั้นคือดวงจันทร์ไททัน (Titan) ซึ่งถือว่าเป็นดวงจันทร์ที่แปลกที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล เพราะเป็นดวงจันทร์ดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีบรรยากาศ และนักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ดวงจันทร์ดวงนี้มีสภาพเหมือนโลกยุคแรก ๆ หากดวงอาทิตย์ร้อนขึ้นเมื่อไร น้ำแข็งบนดวงจันทร์จะละลาย และมีวิวัฒนาการคล้ายกันกับโลกเลยทีเดียว



ดาวยูเรนัส (Uranus)

ดาวยูเรนัส (Uranus)
        
  ดาวยูเรนัส หรือดาวมฤตยู เป็นดาวเคราะห์แก๊สขนาดใหญ่ มีดวงจันทร์บริวาร 27 ดวง หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 16.8 ชั่วโมง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลานานถึง 84 ปี ดาวยูเรนัสประกอบด้วยก๊าซและของเหลว เช่นเดียวกับดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ทั้งนี้ ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ใหญ่เป็น ที่ 3 รองจากดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ โคจรห่างจากดวงอาทิตย์โดยเฉลี่ย 2,871 ล้านกิโลเมตร ทำให้มองเห็นด้วยตาเปล่าได้ยาก แต่เมื่อใช้กล้องโทรทัศน์ และรู้ตำแหน่งแน่ชัด ก็จะสามารถเห็นได้ในคืนฟ้าใสกระจ่าง


 ดาวเนปจูน (Neptune)
ดาวเนปจูน (Neptune)
          ดาวเนปจูน หรือดาวเกตุ เป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่เป็นที่ 4 ในระบบสุริยะ มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 50,000 กิโลเมตร จุโลกได้ถึง 60 ดวง ระยะห่างเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ 4,504 ล้านกิโลเมตร  หมุนรอบตัวเองครบรอบในเวลา 16 ชั่วโมงอยู่ไกลจากโลกมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่เท่านั้นจึงจะเห็นเป็นจุดริบหรี่ได้ สิ่งที่มนุษย์รู้เกี่ยวกับดาวเนปจูน ในทุกวันนี้ จึงเป็นข้อมูลที่ได้มาจากยาน วอยเอเจอร์ 2 ซึ่งโคจรสำรวจดาวเนปจูน ระยะใกล้ เมื่อ พ.ศ. 2532









วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2561

การกำเนิดระบบสุริยะ



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบสุริยะ กำเนิดสุริยะเมื่อราว 4,600 ล้านปีมาแล้ว เนบิวลาที่เป็นแหล่งกำเนิดของระบบสุริยะประกอบด้วยฝุ่นและแก๊สที่ส่วนใหญ่เป็นไฮโดรเจน รองลงมาคือฮีเลียม และธาตุต่างๆ ซึ่งเป็นสสารดั้งเดิมเจือปนกับสสารใหม่ที่เกิดจากซูเปอร์โนวา ด้วยเหตุนี้เมื่อเนบิวลากลายเป็นระบบสุริยะ ดวงอาทิตย์และบริวารจึงมีส่วนประกอบที่มีธาตุต่างๆ คล้ายคลึงกัน ส่วนสาเหตุที่เนบิวลายุบตัวเป็นระบบสุริยะน่าจะเกิดจากการกระแทกโดยปรากฎการณ์ซูเปอร์โนวาพร้อมด้วยแรงโน้มถ่วงภายในเนบิวลาเอง

    มวลสารส่วนใหญ่ของระบบสุริยะกว่าร้อยละ 99.8
กลายเป็นดวงอาทิตย์ มวลสารที่เหลือน้อยไม่ได้เคลื่อนเข้าไปรวมเป็นดวงอาทิตย์ แต่เคลื่อนหมุนวนเป็นแผ่นกลมแบบรอบดวงอาทิตย์ มวลสารเหล่านี้เคลื่อนวนจับกลุ่มเกิดเป็นดาวเคราะห์ บริวารดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และเศษวัตถุขนาดเล็กๆจำนวนมาก

การกำเนิดระบบสุริยะ

1.แก๊สและฝุ่นที่มีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาเมื่อรวมกันตรงใจกลางจะมีความหนาแน่นมากขึ้น ทำให้ใจกลางมีมวลมากขึ้นและมีแรงดึงดูดมากขึ้น สามารถดึงดูดแก๊สในอวกาศที่เคลื่อนที่เข้ามาใกล้ให้มารวมกัน และเมื่อกลุ่มแก๊สมีมวลมากขึ้นจะเริ่มหดตัวลงด้วยแรงโน้มถ่วง
2.เมื่อกลุ่มแก๊สมีการยุบตัวลงทำให้ความดันเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุให้บริเวณใจกลางมีอุณหภูมิสูงมากมายกลายเป็นดวงอาทิตย์ก่อนเกิด(protosun) แรงโน้มถ่วงมีค่ามากกว่าความดันทำให้ดาวเกิดการยุบตัวลงอีก จนอุณหภูมิที่แก่นกลางสูงขึ้นประมาณ 15 ล้านเคลวิน ซึ่งเป็นอุณหภูมิสูงมากพอที่จะเกิดปฏิกิริยา 
เทอร์โมนิวเคลียร์ หรือนิวเคลียร์ฟิวชัน โดยไฮโดรเจนรวมกันเป็นฮีเลียมได้พลังงาน กลายเป็นพลังงานของดาวฤกษ์ดวงใหม่ ซึ่งก็คือดวงอาทิตย์
3.ฝุ่นและแก๊สที่เหลือรอบนอกเคลื่อนที่หมุนวนเป็นแผ่นกลมแบบรอบดวงอาทิตย์
4.บริเวณใกล้มีอุณหภูมิสูง จึงมีสสารส่วนน้อยที่สามารถรวมตัวเป็นของแข็งได้ในขณะที่สารประกอบของไอโดรเจนและสารระเหยง่ายอยู่ในสถานะที่เป็นแก๊ส โดยเศษโลหะและหินที่เกิดขึ้นจะพอกพูนมวลมีขนาดโตเป็นดาวเคราะห์ก่อนเกิด(planetesimals)ขนาดเล็ก (เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ5กิโลเมตร) จำนวนมาก หลังจากนั้นจะเกิดการพอกพูนมวลต่อไปอีกจนเกิดเป็นดาวเคราะห์ชั้นใน 4 ดวง คือ ดวงพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ชั้นนอก
5.ของแข็งที่เหลือจากการรวมกันเป็นดาวเคราะห์โดยเฉพาะในช่องว่างระหว่างวงโคจรดาวอังคารกับวงโคจรดาวพฤหัสบดี ยังคงโคจรรอบดวงอาทิตย์ และกลายเป็นดาวเคราะห์น้อย
6.ส่วนสสารที่กระจายตัวกันอยู่รอบนอก (ไกลกว่าดาวเคราะห์ทั้งหลาย) กลายเป็นแหล่งกำเนิดของดาวหาง



                                                       วีดีโอบรรยายกำเนิดระบบสุริยะ
ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=lPiZ9-XNBgQ


หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมที่